สถิติ
เปิดเมื่อ24/10/2013
อัพเดท10/05/2014
ผู้เข้าชม59449
แสดงหน้า200754
บทความ
ออกแบบโลโก้
ออกแบบโลโก้ : โลโก้ Pepsi สัญลักษณ์หยินหยาง
ออกแบบโลโก้ : ทำไมโลโก้ของ Apple ถึงต้องมีรอยแหว่ง ?
แนะนำ
ตราประทับจีน
การมอบของขวัญอันเป็นมงคลจะนำโชคลาภมาให้กับทั้งผู้รับและผู้ให้ และ 8 สัญลักษณ์มงคลส่งเสริมโชคลาภ ตอนที่ 2
การมอบของขวัญอันเป็นมงคลจะนำโชคลาภมาให้กับทั้งผู้รับและผู้ให้ และ 8 สัญลักษณ์มงคลส่งเสริมโชคลาภ
ระบบมาตรวัดหลู่ปังเชียะ
หนังสือ
แต่งบ้านเสริมมงคลชีวิตและงาน
สิ่งสำคัญของการออกแบบโลโก้
ออกแบบโลโก้ : อิทธิพลของสีต่อความรู้สึกของมนุษย์
ความหมายภายใต้ตราประทับ (ตรายาง)
องค์ประกอบศิลป์ กับ การจัดวางโลโก้ฮวงจุ้ย
แนวโน้มการออกแบบในยุกต์ต่อจากนี้ : ความสุขจากความรู้สึกดี
ต้องรู้ธาตุประจำชะตาเจ้าของธุรกิจหรือผู้นำองค์กร
การสร้างแบรนด์
ใช้สีให้ถูกหลักฮวงจุ้ยเบญจธาตุ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การจดทะเบียนการค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




องค์ประกอบศิลป์ กับ การจัดวางโลโก้ฮวงจุ้ย

อ่าน 1888

องค์ประกอบศิลป์ กับ การจัดวางโลโก้ฮวงจุ้ย  

ธาตุ ทั้ง 5 ในทางฮวงจุ้ยประกอบด้วย น้ำ ไม้ ไฟ ดิน และทอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อม และมีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ ซึมลึกถึงความนึกคิดและจินตนาการของผู้คน หากปริมาณธาตุขาดความสมดุล หรือมีปฏิปักษ์ หักล้าง ทำลายกัน แทนที่จะมีอำนาจส่งเสริมกัน มีกระแสเกื้อกูลกัน จะมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ที่ได้รับอิทธิพลนั้น

วิธี ที่จะทำให้เกิดพลังที่ดี คือ การผสมผสารธาตุสื่อให้โดดเด่นด้วย “รูปร่างของเส้นสาย” “สี สรรค์” “ความสว่าง” โดยการจัดวางใน “ขนาด” และ “ทิศทาง” ที่ เหมาะสม ถ้าทำให้โดดเด่นทั้งองค์ประกอบทั้งหมด ก็จะถือว่าสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้บุคคลที่พบเห็นเกิดอารมณ์และความรู้สึกที่ดี (Good feeling) รู้สึกคุ้นเคย เป็นมิตร (Good friendly) และนึกถึงทุกครั้งที่ต้องการสินค้าหรือบริการนั้นๆ (Good Recognition)

 

 เส้น (Line)        
     เส้น เป็นการเรียงตัวของจุดที่เรียงต่อเนื่องกัน มีลักษณะมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมถึงเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูปร่างรูปทรง

     เส้น ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด ที่สามารถสื่อความหมายที่แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง ด้วยการสร้างเป็นรูปร่างรูปทรงต่างๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียก และให้ความหมาย และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย

ลักษณะของเส้น ความหมาย และความรู้สึก

1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทแยงมุม ให้ความรู้สึกถึงเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ หวาดกลัว อันตราย ความขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึกถึงเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวคลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา เมื่อมองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดหาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด

ความสำคัญของเส้น

1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นเป็นมิติ (Form) ชัดขึ้น
4. ทำหน้าที่ให้น้ำหนักอ่อนแก่ของแสงและเงา (การแรเงาด้วยเส้น)
5. ทำหน้าที่เป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

 

รูปทรง (Form)
         รูปทรง คือ ลักษณะเป็น 3 มิติ ที่แสดงความกว้าง ความยาว และความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกถึงการมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบ
         รูปเรขาคณิต (Geometric Form) เป็นรูปร่างที่แน่นอน เป็นมาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณหาพื้นที่หรือปริมาตรได้ง่าย เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี เป็นต้น รูปเรขาคณิต เป็นรูปแบบพื้นฐานของรูปทรงต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นอย่างมีแบบแผน เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องบิน สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรมเสียก่อน
         รูปอินทรีย์ (Organic Form) เป็นรูปสิ่งที่มีชีวิต หรือคล้ายกับสิ่งมีชีวิต ที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างด้วยการเจริญเติบโต หรือด้วยการเคลื่อนไหว เช่น คน สัตว์ พืช
         รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นอย่างอิสระ มีลักษณะโครงสร้างที่ไม่แน่นอน เป็นไปตามอิทธิพลหรือการกระทำจากสิ่งแวดล้อม เช่น รูปก้อนเมฆ ก้อนหิน ควันซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง รูปอิสระจะมีลักษณะ ขัด แย้งกับรูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน กับรูปอินทรีย์ รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำให้มีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชน ไม้ที่ถูกเผา หรือซากสัตว์

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง
         เมื่อ นำรูปทรงมาจัดวางใกล้กัน รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ การดึงดูด หรือผลักส่งซึ่งกันและกัน การประกอบกันของรูปทรง อาจทำได้โดยการใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ทับซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน รูปทรงที่สานรวมเข้าด้วยกัน หรือรูปทรงที่เกี่ยวพันกัน การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ๆ เกิดขึ้น

 

แสงและเงา (Light & Shade)
   แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนักของวัตถุ ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความ เข้มของแสง เงาเป็นองค์ประกอบศิลป์ที่อยู่คู่กันแสง เมื่อส่องกระทบกับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะ ได้ดังนี้

  1. Hi-light เป็นบริเวณแสงสว่างจัด ที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัดเจน
  2. Light เป็นบริเวณแสงสว่าง ที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่างจัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักความเข้มของอ่อน ๆ
  3. Shade เป็นบริเวณที่เกิดเงา เป็นบริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงสว่าง จะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
  4. Hi-Shade เป็นบริเวณเงาเข้มจัด ซึ่งเป็นบริเวณของวัตถุที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือถูกบดบังแสงมากที่สุด จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
  5. Shadow Passed บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณที่อยู่ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้นหลัง ทิศทาง และระยะของเงา

 ความสำคัญของค่าน้ำหนัก

  1.  ให้ความแตกต่างระหว่างรูป หรือรูปทรง กับ พื้นผิวหรือที่ว่าง
  2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
  3. แสดงความเป็นมิติ เช่น ความลึก ตื้น นูน
  4. ทำให้เกิดระยะระยะใกล้ - ไกล
  5. ทำให้มีความกลมกลืน

 

 

 พื้นผิว (Surface)
 
 พื้นผิว คือ ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งแสดงความหยาบ ขรุขระ เรียบ มัน เนียน สาก เป็นต้น พื้นผิวลักษณะที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน

  พื้นผิวหยาบจะ ให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาท หนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร

  พื้นผิวผิวเรียบ จะให้ความรู้สึกเบา สบาย

 

สี สรรค์ (Color)
แสงสีที่สายตาสามารถมองเห็นได้นั้นมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้มองเห็น สามารถโน้มน้าว ชักจูงให้รู้สึก ตื่นเต้น หรือโศกเศร้าได้ ในโรงพยาบาลมักใช้แสงสีในการรักษาคนไข้โรคประสาท หรือผู้ที่มีโรคทางจิต

วรรณะของสี คือ การให้ความรู้สึกร้อน-เย็นของสี ในวงจรสีจะมีสีวรรณะร้อนและสีวรรณะเย็น อย่างละ 7 สี ซึ่งจะมีแนวแบ่งวรรณะของสีอยู่ที่สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งทั้งสองเป็นได้ทั้งสองวรรณะ

สีตรงข้าม หรือ สีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสีแตกต่างกันอย่างรุนแรง มักไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสอย่างเต็มที่ เทคนิคการนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วม กัน เช่น ให้พื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย ผสมสีอื่นๆ ลงไปในสีใดสีหนึ่งหรือผสมลงในทั้งสองสี หรือผสมสีตรงข้ามทั้งสองเข้าด้วยกัน

สีกลาง คือ สีที่สามารถกลมกลืนหรือยู่ร่วมได้กับทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทาสีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล   สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืดหม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา


ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี
    
สี ต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลือง ซึ่งเรียกว่า “ค่าในน้ำหนักของสีหลายสี” (Value of Different Color)

     สำหรับ ค่าความเข้มสีที่เกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำมาไล่ น้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เรียกว่า “ค่าน้ำหนักสีเดียว” (Value of Single Color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ มากในการสร้างงานจิตรกรรม

สีตัดกัน

สี ตัดกันหรือสีตรงข้าม คือ สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี การที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่ ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดู ถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่าง แท้จริง

ตัวอย่างสีคู่ตัดกัน

  • สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
  • สีเขียว กับ สีแดง
  • สีเขียวแก่ กับ สีแดงส้ม
  • สีน้ำเงิน กับ สีส้ม
  • สีม่วง กับ สีเหลือง
  • สีม่วงน้ำเงิน กับ สีเหลืองส้ม

วิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้
        1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพ
        2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20%
  • หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
  • หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
  • หาก จำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้ดังตัวอย่าง

สีกับการตกแต่ง
การ ตกแต่งให้สวยงาม ถูกใจ สบายใจและรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่นั้นๆ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการเลือกใช้สีที่แสดงออกมาทางจิตวิทยา ที่เกิดผลกับจิตใจมนุษย์อย่างที่เราไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น สีแดงและสีเหลืองให้ความรู้สึกตื่นเต้น สีน้ำเงินและสีเขียว ให้ความรู้สึกสงบ จิตใจถูกน้อมลงสู่สันติสุข ซึ่งเป็น “หลักจิตวิทยา” ที่เกี่ยวกับความรู้สึก ดังนั้นการวางโครงสร้างของสีในการใช้ในชีวิตประจำวัน ควรจัดสรรให้ถูกต้องกับเรื่องราวหรือประโยชน์ใช้สอย

ความรู้สึกเกี่ยวกับสีในเชิงจิตวิทยา

สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน  รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย  เคลื่อนไหว  ตื่นเต้น เร้าใจ  มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง  ความรัก ความสำคัญ  อันตราย

สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน  ความอบอุ่น ความสดใส  มีชีวิตชีวา  วัยรุ่น  ความคึกคะนอง การปลดปล่อย  ความเปรี้ยว  การระวัง

สีเหลือง ให้ความรู้สึกแจ่มใส  ความสดใส  ความร่าเริง  ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่  ความสด  ใหม่  ความสุกสว่าง  การแผ่กระจาย  อำนาจบารมี

สีเขียว ให้ความรู้สึก สงบ  เงียบ  ร่มรื่น  ร่มเย็น  การพักผ่อน  การผ่อนคลาย ธรรมชาติ  ความปลอดภัย  ปกติ  ความสุข  ความสุขุม  เยือกเย็น

สีน้ำเงิน ให้ ความรู้สึกสงบ  สุขุม  สุภาพ  หนักแน่น  เคร่งขรึม  เอาการเอางาน ละเอียด  รอบคอบ  สง่างาม  มีศักดิ์ศรี  สูงศักดิ์  เป็นระเบียบถ่อมตน

สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์  น่าติดตาม  เร้นลับ  ซ่อนเร้น  มีอำนาจ  มีพลังแฝงอยู่ ความรัก  ความเศร้า  ความผิดหวัง  ความสงบ  ความสูงศักดิ์

สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง  กว้าง  เบา  โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย  ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน

สีขาว ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์  สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน  เปิดเผย การเกิด  ความรัก ความหวัง  ความจริง  ความเมตตา ความศรัทธา  ความดีงาม

สีดำ ให้ความรู้สึก มืด สกปรก ลึกลับ  ความสิ้นหวัง  จุดจบ ความตาย ความชั่ว ความลับ ทารุณ โหดร้าย ความเศร้า หนักแน่น เข้มเข็ง อดทน มีพลัง

สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น  อ่อนโยน  นุ่มนวล  อ่อนหวาน  ความรัก  เอาใจใส่  วัยรุ่น หนุ่มสาว  ความน่ารัก ความสดใส

สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า  อาลัย  ท้อแท้   ความลึกลับ  ความหดหู่  ความชรา  ความสงบ ความเงียบ  สุภาพ  สุขุม  ถ่อมตน

สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา  โอ่อ่า  มีราคา  สูงค่า  สิ่งสำคัญ  ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข  ความมั่งคั่ง  ความร่ำรวย  การแผ่กระจาย 

 

บริการออกแบบโลโก้ตามหลักของฮวงจุ้ย
สร้างมิติของโลโก้

วิเคราะห์โลโก้ตามหลักฮวงจุ้ย

ติดต่อ Email: [email protected]

Power by Sango

 

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://sango.igetweb.com

 

TAGS

โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ฮวงจุ้ย, logoฮวงจุ้ยออกแบบโลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, ฮวงจุ้ยตรายาง, ฮวงจุ่ยลายเซ้นต์, วิเคราะห์ลายเซ็นต์ตามหลักฮวงจุ้ย, ตรายางบริษัท, เครื่องหมายการค้า, ตรา, เครื่องหมาย, Trademark, รูปโลโก้, สัญลักษณ์, ลายเซ้นต์, ทำโลโก้, ภาพโลโก้, โลโก้บริษัท, ออกแบบ, logo, รับออกแบบโลโก้, แบบโลโก้, ฮวงจุ้ย, แสนโกฏิ์, sango, แสนโกฏิ์

 

 


 

Email: [email protected]

Copyright © 2008 by Sango.igetweb.com, All Rights Reserved. Engine by Sango8.myreadyweb.com